ส. 17 ส.ค.
|River City Bangkok
“STRATA” PhotoBangkok Pop-Up Exhibitions 2019
STRATA PhotoBangkok Pop-Up Exhibitions at River City and 1PROJECTS by PhotoBangkok in collaboration with 1PROJECTS Curated by Nim Niyomsin Exhibitions 1PROJECTS: 3 August - 22 September 2019 River City Bangkok: 17 August - 29 September 2019
Time & Location
17 ส.ค. 2562 18:00 – 29 ก.ย. 2562 19:00
River City Bangkok, 23 Soi Charoen Krung 24, Khwaeng Talat Noi, Khet Samphanthawong, Krung Thep Maha Nakhon 10100, Thailand
About the event
STRATA
PhotoBangkok Pop-up Exhibitions 2019
by PhotoBangkok in collaboration with 1PROJECTS
Curated by Nim Niyomsin
Artists
Charinthorn Rachurutchata (Thailand), Ekkarat Punyatara (Thailand), John Hulme (Scotland), Luis del Amo (Spain),
Naraphat Sakarthornsap (Thailand), Suzanne Moxhay (England) Tetsuya Kusu (Japan)
Venues
RCB Photographer’s Gallery 2, Room 237 and 240, River City Bangkok and 1PROJECTS
Exhibitions
1PROJECTS: 3 August - 22 September 2019
River City Bangkok: 17 August - 29 September 2019
Opening hours
1PROJECTS: Saturday & Sunday 1pm-7pm, Monday - Friday by appointment only
RCB Photography's Gallery, River City Bangkok: Monday - Sunday 10.00 am - 10.00 pm
(Scroll down for English version)
เกี่ยวกับนิทรรศการ
ภายใต้การสรรค์สร้างงานศิลป์ที่สอดแทรกอยู่ คือการคงอยู่ระหว่างความจริงกับจินตนาการ เรื่องราวของปัจเจกและประวัติศาสตร์ร่วม มุมมองส่วนบุคคลและตามข้อเท็จจริง สถาวะในห้วงเวลากับสถานที่ ภาพถ่ายได้ทำหน้าที่ที่นอกเหนือจากเป็นแค่การบันทึกมาเป็นการแสดงออกถึงสุนทรียะ ส่งผ่านเรื่องราวทางวัฒนธรรมและประเด็นทางสังคม
Strata โปรเจคงาน Pop-up Exhibitions ของทางโฟโต้บางกอก เพื่อสะท้อนถึงโครงสร้างทางสังคมปัจจุบัน โดยในปีนี้ได้นำเสนอผลงานจาก 7 ศิลปิน 5 นิทรรศการ ที่สะท้อนถึงสภาพสังคมและการเมืองในปัจจุบันที่ทุกอย่างมีความซับซ้อน สิ่งที่เห็นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เป็น ศิลปินทั้ง 7 นำเสนองานภาพถ่ายที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้วยประเภทของภาพถ่าย หัวข้อ หรือแม้แต่เทคนิคที่ใช้ งานแต่ละชุดนำเสนอหลากหลายแง่มุม ที่แทรกอยู่ในทุกองค์ประกอบ การส่งผ่าน เผยแพร่ข้อมูล และการทำความเข้าใจกับเรื่องราวต่างๆ
งานของศิลปิน Luis del Amo และ Suzanne Moxhay เปรียบเสมือนตัวแทนจากทางฝั่งสังคมของยุโรป ในนิทรรศการ Madrid in Black and White, Luis del Amo นำเสนอภาพบางส่วนของอดีตที่ดูหรูหราและสวยงามของ Madrid ในช่วงเวลาที่ศิลปินทำงานเป็นช่างภาพแฟชั่น ผ่านทางภาพถ่ายฟิล์มขาวดำ 35 มม และ medium format ในขณะที่สิบกว่าปีให้หลัง Suzanne Moxhay กับนิทรรศการ Expanse นำเสนองานที่แม้จะได้แรงบันดาลใจมาจากเทคนิค Matte painting ที่ใช้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในยุคก่อน แต่เธอกลับเลือกที่จะนำเสนอผลงานผ่านการใช้ดิจิทัลและคอมพิวเตอร์กราฟิก เพื่อสร้างงานที่เป็นเสมือนการจัดฉาก สร้างสภาวะแวดล้อมที่พยายามจัดการกับขอบเขตระหว่างภายนอกและภายใน เปิดโอกาสให้กับการขยายของพื้นที่ทั้งทางกายภาพและทางด้านจิตใจ
นิทรรศการ ฉันรักเมืองไทย เป็นการแสดงงานของสองศิลปินไทยรุ่นใหม่ ที่กำลังเป็นที่จับตามอง นรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์ และ ชรินทร ราชุรัชต ที่สะท้อนภาพของสภาพสังคมไทยผ่านแนวคิด แนวทางวิพากษ์วิจารณ์ของคนรุ่นใหม่ ชรินทรที่เติบโตมาท่ามกลางการเลี้ยงดูในกรอบแบบสมัยก่อน เลือกที่จะวิเคราะห์ประโยค ฉันรักเมืองไทย ประโยคที่นักเรียนถูกให้ฝึกพูดตามท่องจำซ้ำๆ ในขณะที่ นรภัทร มุ่งให้เราเห็นความสำคัญของวัตถุ สิ่งต่างๆ หรือแม้แต่คนที่ถูกปฏิเสธจากสังคม ผ่านทางความสวยงามของการจัดวางดอกไม้ที่เรียบง่าย ตามพื้นที่ที่เราเห็นและคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน เพื่อสะท้อนถึงผลกระทบของสังคมที่มีต่อแต่ละบุคคล
“What a wonderful world?” ผลงานของสองศิลปิน Tetsuya Kusu และ John Hulme, เสนอภาพของกลุ่มคนชายขอบของสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบันของประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา งานของ Kusu แฝงไปด้วยอารมณ์ขัน ที่ไม่ใช่เป็นแค่การบันทึกภาพชีวิตของกลุ่มคนในอเมริกา แต่จริงๆแล้วงานชุดนี้คือการที่ศิลปินบันทึกและวิเคราะห์ความเป็นตัวตนของเขาเองผ่านทางภาพถ่าย ในขณะที่ Hulme นำเสนอภาพชีวิตที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดของกลุ่มผู้ใช้แรงงานข้ามชาติ อย่างตรงไปตรงมา ศิลปินบันทึกทุกอย่างทั้งชีวิตการทำงาน ครอบครัวและความเป็นอยู่ของกลุ่มคนเหล่านี้ เพื่อแสดงถึงศักดิ์ศรี ความภาคภูมิใจ และความอดทนมุ่งมั่นท่ามกลางสภาพการณ์ที่ยากลำบาก
เอกรัตน์ ปัญญะธารา เสนอภาพของกรุงเทพในอีกด้านหนึ่งในนิทรรศการ Interlude มหานครนี้ถูกนำเสนอผ่านความนิ่ง ความว่าง เหลือเพียงแค่ร่องรอยของสิ่งที่เกิดขึ้น ศิลปินแสดงภาพของเมืองในช่วงเวลาที่หยุด ช่วงเวลาพักจากชีวิตที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ห่มล้อมทุกคนที่อาศัยใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวงแห่งนี้
ศิลปินที่เข้าร่วมในโปรเจคนี้นำเสนองานที่พูดถึงความซับซ้อน ลำดับชั้นของสังคมของสภาพชีวิตที่มาจากพื้นฐานและเรื่องราวที่หลากหลายแตกต่าง เพื่อเป็นการสะท้อนถึงตัวตนและเปิดโอกาสให้กับบทสนทนาการแลกเปลี่ยนทางความคิดที่เปิดกว้าง ทุกๆการกระทำ การสร้างสรรค์ ไม่มีสิ่งไหนที่เป็นกลาง ทุกสิ่งต่างมีนัยยะทางการเมืองทั้งในแนวคิดและการที่เราเลือกที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งที่เราเห็นตรงหน้าหรือสิ่งที่เราเคยคิดว่ามั่นใจ อาจจะเป็นสิ่งที่กลับมาท้าทายเราให้มองให้เห็น ท่ามกลางความคลุมเครือไม่มีสิ่งใดที่แน่นอน
แนวความคิดของแต่ละนิทรรศการ
ฉันรักเมืองไทย โดย ชรินทร ราชุรัชต และ นรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์
ความไม่รู้ ไม่สนใจและใส่ใจของพลเมืองในประเทศ มักจะพบเห็นได้บ่อย ในประเทศที่ ข้อมูล ข้อเท็จจริง บรรทัดฐาน และ การโฆษณาชวนเชื่อ ยังไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างเด่นชัด
ฉันรักเมืองไทย เป็นการนำเสนอผลงานของศิลปินที่กำลังเป็นที่จับตามองอย่าง นรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์ และ ชรินทร ราชุรัชต ทั้งสองศิลปินต่างแสดงความกังวลและห่วงใยกับ สภาพสังคม ทิศทางและอนาคตของประเทศ ผ่านการสื่อสารทางภาพถ่ายที่ทั้งดูเชื้อเชิญและท้าทายผู้ชมไปในขณะเดียวกัน ชรินทร มองย้อนไปที่การเลี้ยงดูแบบอนุรักษ์นิยม ของครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน ที่เธอเติบโตมา และมองอย่างลึกซึ้งไปในประโยค ฉันรักเมืองไทย ที่เคยต้องท่องซ้ำๆในสมัยที่อยู่โรงเรียน ศิลปินพยายามหาถึงความหมายและจุดประสงค์ที่แท้จริงของประโยคนี้ ว่าความหมายของสิ่งที่เราพูดนี้จริงๆคืออะไร และที่สำคัญกว่านั้น คือคำถามว่าเราหมายความอย่างนั้นจริงๆมั้ยในการเปล่งคำนี้ออกมา นรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์ มองไปถึงลำดับชั้นและบรรทัดฐานทางสังคม ศิลปินตั้งคำถามกับกฏเกฌฑ์ ข้อบังคับ และการไม่เปิดกว้างทาง
ความคิด ใครเป็นคนตัดสินว่าสิ่งใดเป็นที่ยอมรับ และสิ่งไหนที่จะถูกปฏิเสธ โดยการสำรวจถึงพื้นที่ทั่วๆไปที่คุ้นเคย ศิลปินสะท้อนถึงผลกระทบที่สังคมมีต่อบุคคลทั้วไป และเปิดโอกาสและสนับสนุนให้แต่ละคนมองหาคุณค่าที่แท้จริงของตนเองและมองหาสิ่งที่อาจจะเคยต้องสูญเสียไปเพราะการตัดสินของผู้อื่น
โลกของเราช่างสวยงาม เต็มไปด้วยความหวัง ความฝัน ความงดงาม … ? โดย Tetsuya Kusu และ John Hulme
ศิลปิน Tetsuya Kusu และ John Hulme. นำเสนอภาพของบุคคลชายขอบ ของระบบชั้นสังคมและเศรษฐกิจของสองประเทศที่ดูเสมือนเป็นขั้วตรงข้ามอย่างสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย ผ่านทาง 2 มุมมองที่แตกต่าง กลุ่มคน ที่หลายครั้งถูกเมินเฉยหรือมองข้ามจากสังคม
งานของ Tetsuya Kusu เป็นส่วนหนึ่งของงานในชุดที่ชื่อว่า American Monuments (2557) เมื่อมองครั้งแรก งานนี้อาจจะเหมือนกับการสังเกต มองดูชีวิตของบุคคอื่น แต่จริงๆแล้ว งานชุดนี้คือการที่ศิลปินได้พยายามสำรวจและตรวจสอบย้อนไปถึงความรู้สึกของตัวเองในสมัยที่เคยใช้ชีวิตร่อนเร่อย่างไร้จุดหมายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา งานของศิลปินแฝงถึงอารมณ์ขัน ท้าทาย แสดงออกถึงความรู้สึกอิสระและความทะนงของผู้ที่เป็นแบบ งานของ Kusu คือการกล้าที่จะย้อนกลับไปมองถึงอดีต เพื่อพยายามรวบรวม เก็บประกอบ และประกาศตัวตนของศิลปินให้กลับมาอีกครั้งผ่านทางสายตา
และบทบาทของผู้อื่น
ตลอดระยะเวลากว่า 12 ปีที่ผ่านมาJohn Hulme ได้ทำการบันทึกชีวิตของแรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ตามขอบชายแดนของประเทศไทย ศิลปินนำเสนอสภาพความเป็นอยู่ของชีวิตคนกลุ่มนี้อย่างตรงไปตรงมา บันทึกเรื่องราวของแต่ละบุคคลที่ครอบคลุมเกือบทุกด้านทั้งในการทำงานและความพยายามที่จะผลักดันชีวิตให้ดีขึ้น ภาพที่ถูกบันทึกเป็นการติดตามเรื่องราวของชีวิตของคนๆหนึ่ง และบางครั้งกับครอบครัวของเขาที่ต้องจากบ้านเพื่อมาทำงาน สร้างโอกาส สร้างรายได้ ไม่ว่าจะเป็นงานในโรงงาน อุตสาหกรรมประมง งานการเกษตร ก่อสร้าง หรือแม้แต่ธุรกิจบริการ ภาพเหล่านี้เผยให้เห็นถึงความอดทน ภาคภูมิใจ ความมุ่งมั่น ที่จะต่อสู้กับความทุกข์ยากของชีวิต
Madrid in Black and White โดย Luis Del Amo Madrid
ในช่วงปี 80s เกิดการมาของกลุ่มคลื่นลูกใหม่ในด้านงานสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านศิลปะวัฒนธรรม ด้วยอิทธิพลจากการเคลื่อนไหว La Movida Madrileña ที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปทางวัฒนธรรมและการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ทั้วทั้งประเทศสเปน
ในนิทรรศการ Madrid in Black and White ศิลปิน Luis del Amo เปิดเผยภาพบางส่วนของเมือง Madrid ในยุค 80s และ 90s ผ่านทางภาพถ่ายฟิล์มขาวดำ 35 มม และ ฟิล์ม medium format ในเวลานั้น อุตสาหกรรมแฟชั่นของ Madrid ถึงแม้ว่าจะยังตามที่มิลานหรือปารีส แต่ก็เริ่มเป็นที่รู้จักในระดับสากล และในช่วงเวลานั้นเอง ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสมัยใหม่ในวงการแฟชั่นที่มีกลุ่มช่างภาพแฟชั่นและนางแบบรุ่นใหม่ช่วยกันผลักดัน ในยุคที่ยังไม่มีโรงเรียนศิลปะที่ไหนที่จะมุ่งสอนในด้านภาพถ่ายกับแฟชั่นเข้าด้วยกัน ในขณะเดียวกันในการถ่ายภาพแต่ละครั้งงประมาณก็ยังมีจำกัด ช่างภาพและทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องใช้ทั้งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และไหวพริบในการทำงานและจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น
Luis del Amo เริ่มงานในสายอาชีพนี้จากการเป็นผู้ช่วยช่วงภาพที่เขาได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ ของการถ่ายภาพในยุคก่อนที่จะมีภาพถ่ายแบบดิจิทัล ในยุคนั้นยังไม่มีโปรแกรมปรับแต่งภาพอย่าง Photoshop. ช่างภาพทุกคน นอกจากจะสามารถถ่ายภาพได้สวยงามแล้ว จะต้องมีความรู้ในเรื่องของขั้นตอนการล้างภาพ. การจัดแสงในสตูดิโอ การทำงานร่วมกับนางแบบ รวมไปถึงเรื่องของเสื้อผ้าและการแต่งหน้า ทุกอย่างยังเป็นระบบอนาล็อก ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการถ่ายภาพแต่ละครั้งจะถูกเผยออกมาผ่านทางรูปถ่าย แทบจะไม่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขอะไรได้ ผลงานที่ปรากฏตรงนี้ คืองานที่เป็นผลมาจากการทำงานและฝึกฝนอย่างหนัก ความกล้า การพลิกแพลง สร้างสรรค์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
Expanse โดย Suzanne Moxhay
การสำรวจพินิจถึงขอบเขตระหว่างพื้นที่ภายในและภายนอก ก่อให้เกิดเป็นผลงาน photomontage ของศิลปิน Suzanne Moxhay ที่เป็นการจำลองสร้างสภาพแวดล้อมที่เส้นแบ่งระหว่างพื้นสภาพเลือนหายไป แทบไม่ปรากฏ
Moxhay ได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานเทคนิค matte painting ที่ใช้ในอุตสาหรรมภาพยนตร์ในสมัยก่อน แต่อย่างไรก็ตามผลงานที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลของวิธีการทำงานที่ซับซ้อน โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และการปรับแต่งภาพด้วยดิจิทัล ผสมผสานกับเทคนิค mixed media กระบวนการซ้อนเชื่อมต่อของแนวทางทั้งใหม่และเก่า เข้าด้วยกัน สตูดิโอของศิลปินอยู่ภายในตึกอันเก่าแก่ของลอนดอน การทำงานที่นี่ทำให้ศิลปินเริ่มสนใจและสำรวจโครงสร้างของอาคารเก่า และเริ่มสร้างพื้นที่แห่งจินตนาการที่เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ภายในกับสภาพแวดล้อมรอบตัว ประกอบกับแรงบันดาลใจที่ได้จากเรื่องสั้นของ Thomas Pynchon ภายใต้ชื่อ Entropy ที่ตัวเอกของเรื่องได้พยายามสร้างพื้นที่ สภาพอากาศปิดย่อยๆ ภายในห้องของเขา
การเชื่อมต่อและขยายของพื้นที่ภายนอกเข้าสู่ภายใน ไม่ได้แค่เป็นการผันเปลี่ยนแต่ลักษณะกายภาพของพื้นที่ แต่ยังมีอิทธิพลกับสภาพความคิดและจิตใจของบุคคลที่อาศัยอยู่ในนั้น ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่าง ร่างกายมนุษย์ ที่อยู่อาศัย พื้นที่แวดล้อม และบริเวณโดยรอบ ก่อให้เกิดเป็นภาพลักษณ์ของตัวตน และความซับซ้อนภายในของแต่ละปัจเจกบุคคล
Interlude โดย เอกรัตน์ ปัญญะธารา
ท่ามกลางกระแสของชีวิตที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง การที่มีช่วงเวลาที่ได้หยุดพัก จากการดำเนินไปของชีวิตในแต่ละวัน เวลาที่จะได้หยุดนิ่ง คิดสะท้อนถึงสิ่งที่ทำที่เกิดขึ้น และเตรียมพร้อมสำหรับวันข้างหน้า เป็นความจำเป็นหนึ่งเพื่อให้ชีวิตนี้สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างไม่โหดร้ายเกินไปนัก
เมืองใหญ่เมืองหนึ่งก็เปรียบได้กับสิ่งมีชีวิตที่ประกอบไปด้วยระบบสังคมต่างๆที่มีความซับซ้อน การเชื่อมโยง ปฏิสัมพันธิ์ระหว่างสิ่งต่างๆมากมายนับไม่ถ้วน ในบริบทนี้เมืองก็เช่นกันที่ต้องการช่วงเวลาที่จะได้พักหายใจ ในนิทรรศการนี้ศิลปิน เอกรัตน์ ปัญญะธารา ได้นำเสนอภาพของกรุงเทพมหานครในช่วงเวลาของการหยุด ความว่างเปล่า ที่ปรากฏเพียงแค่ร่องรอยของมนุษย์
เอกรัตน์ เป็นช่างภาพของ National Geographic ประจำประเทศไทย เขาชอบการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนอันแสดงออกมาทางภาพถ่ายของเขา ที่ส่วนใหญ่จะเป็นภาพของผู้คนในสังคม ในบริบทต่างๆ ผลงานของเอกรัตน์ที่ถูกเลือกนำมาจัดแสดงในครั้งนี้ เป็นงานที่สอดแทรกอยู่ระหว่างผลงานทั้งหมดของเขา งานที่สะท้อนถึงการหยุดเพื่อสำรวจ ใคร่ครวญ พิจารณาอยู่กับตนเองเวลาของความว่างเปล่า การหยุดพักของเมืองจากกิจกรรมต่างๆ ช่วงเวลาที่เราให้คืนกับกรุงเทพ เมืองที่ถูกใช้ประโยชน์อยู่ทุกวัน เมืองที่เป็นบ้าน เป็นผู้ให้ โดยไม่เกี่ยงชนชั้น
เกี่ยวกับศิลปิน
ชรินทร ราชุรัชต เกิด 2525 ทำงานและอาศัยอยู่ที่กรุงเทพ หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย ชรินทรได้เริ่มทำงานเป็นช่างภาพแฟชั่น ที่ทำให้เธอเริ่มให้ความสนใจกับความไม่จีรังของความสวยงามของเรือนร่าง หลังจากที่ได้ประสบการณ์จากการทำงานนี้ ศิลปินเริ่มหันมาสนใจทางด้านศิลปะมากขึ้น โดยเริ่มสนใจสร้างสรรค์งานที่เป็นแนวความคิดมากขึ้น งานที่แฝงความซุกซน ขี้เล่นอยู่ในงาน และนำเสนอมุมมอง ความคิด ความรู้สึก สัญชาตญาน และการแสดงออกที่มาจากตัวตนของเธอ นอกจากการทำงานในด้านภาพถ่ายแล้ว ศิลปินยังได้ทำงานประเภทภาพยนตร์สั้นที่ได้มีโอกาสฉายทั้งในและต่างประเทศ
ชรินทร ได้จัดแสดงงานในหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์ชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ เช่นที่ Fukuoka Asian Art Museum ประเทศญี่ปุ่น VU Photo รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย The Pier2 Art Center ประเทศไต้หวัน Bogong Centre for Sound Culture ประเทศออสเตรเลีย Alliance Franciase Bangkok Number 1 Gallery และ RMA Institute ประเทศไทย ชรินทรได้เข้าร่วมโปรแกรมศิลปินในพำนักทั้งในเอเชีย ออสเตรเลีย และแคนาดา
เอกรัตน์ ปัญญะธารา เกิด 2528, ช่างภาพและบรรณาธิการภาพประจำนิตยสารเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิกฉบับภาษาไทย เขาเป็นนักเล่าเรื่องด้วยภาพ ผู้ชอบสร้างสรรค์งานจากรากเง้าทางวัฒนธรรมไทยที่เขาได้รับการปลูกฝังมาจากครอบครัวผลงานของเอกรัตน์ที่ถูกกล่าวถึงมากคือ “เรื่องส่วนตัว” งานภาพถ่ายที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้ลองทบทวนความเข้าใจแก่นของปรัชฌา ‘ทางสายกลาง’ ผ่านภาพถ่ายวิถีชีวิตของพระสงฆ์ที่พำนักอยู่ที่นิวยอร์คประเทศอเมริกา งานของเขาถูกนำไปจัดแสดงและตีพิมพ์ลงนิตยสารต่างๆ เช่น Smithsonian(USA), burn magazine(USA), Emaho magazine(India), IPA(Singapore), South China Post(China), Angkor Photo Festival(Cambodia), Obscura Photo Festival(Malaysia) รวมทั้ง Instagram @ekkaratpunyatara ของเขายังได้รับการโหวตจาก Invisible Photographer Asia (Singapore) ให้เป็นหนึ่งใน 20 Instagram ที่น่าติดตามที่สุดของช่างภาพแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลงานของเอกรัตน์ยังได้รับรางวัลจากการประกวดระดับโลก เช่น รางวัล Gold จาก Moscow International Fotography Awards, รางวัลที่ 2 จาก Streetfoto San Francisco, รางวัลชนะเลิศ จาก 180 years Thai-American relationship photo contestฯ ปัจจุบันเอกรัตน์อาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ เขาทำงานถ่ายภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเมื่อว่างเว้นจากงานที่ได้รับมอบหมายเอกรัตน์จะทำโปรเจ็คส่วนตัวเพื่อเรียกร้องให้สังคมไทยตระหนักรู้ในประเด็นทางสังคมต่างๆ
John Hulme เกิด 2491 (สก๊อตแลนด์), ทำงานและอาศัยอยู่ที่เชียงใหม่ ประเทศไทย, John Hulme ช่างภาพเชิงสารคดีที่ใช้เวลาอยู่ระหว่างที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับที่ประเทศอังกฤษ ผลงานของเขาเน้นในประเด็นทางด้านสังคมในยุโรบ ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศอินเดีย และ ประเทศออสเตรเลีย ศิลปินเป็น accredited photographer ให้กับ BBC และ Channel 4 ที่เขาได้มีส่วนร่วมในการผลิตสารคดีหลายๆเรื่อง
งานของ John Hulme ได้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น AOL, Pacific Press (Japan), MacMillan Education, Heinemann, BBC, McGraw Hill (US), Longman Asia, Oxford University Press, Cambridge University Press, AA Publishing, MacMillan Oxford, Independent On Sunday, Aladdin Books, APA Publications, Financial Times และ The Sydney Morning Herald งานชุดปัจจุบันของเขาเช่นการบันทึกเรื่องราวของแรงงานข้ามชาติชาวพม่า ชนเผ่ากะเหรี่ยงในประเทศพม่า และเหมืองทองที่รัฐคะฉิ่น ตอนเหนือของประเทศพม่า
Luis del Amo เกิด 2501 (มายอร์ก้า สเปน) ทำงานและอาศัยอยู่ที่กรุงเทพ ประเทศไทย, Luis del Amo เป็นช่างภาพแฟชั้นชาวสเปน นอกเหนือจากงานในวงการแฟชั้น เขายังทำงานภาพยนตร์ สารคดี มิวสิควีดีโอ และ ภาพถ่ายท่องเที่ยว ในช่วงก่อนปี 2550 ศิลปินได้อาศัยอยู่ที่ Madrid ทำงานเป็นช่างภาพแฟชั้นและบรรณาธิการให้แก่นิตยสารแฟชั่นชั้นนำเช่น Vogue Spain, Elle, Cosmopolitan, El Pais Semanal และ Ragazza นอกจากนี้ศิลปินยังได้ทำงานร่วมกันกับ Votre Beaute และ Conde ในวงการแฟชั่นของปารีสและมิลาน และยังได้เป็นช่วงภาพที่จับภาพตามงานเทศการหลังต่างๆ
ศิลปินหลงรักการท่องเที่ยวและได้ตัดสินใจใช้เวลาช่วงหลายปีที่ผ่านมา เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วโลกและบันทึกภาพถ่ายจากการเดินทาง ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ในกรุงเทพ และดำรงตำแหน่งเป็น Director of Photography ให้แก่ เว็บไซต์แฟชั่น
นรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์ เกิด 2534 ทำงานและอาศัยอยู่ที่กรุงเทพ, นรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์ มักนำเสนอเรื่องราวต่างๆทั้งในเรื่องของเพศสภาพ และความไม่เท่าเทียมกันในสังคมผ่านงานศิลปะภาพถ่าย โดยมีดอกไม้หลากหลายชนิดเป็นตัวละครหลักในการดำเนินเรื่องราว อีกหนึ่งสิ่งที่มักถูกบอกเล่าผ่านงานศิลปะหลากหลายชิ้นของเขานั้นก็คือ ป้ายชื่อผลงาน และรายละเอียดของงานแต่ละชิ้นที่มักมีความเชื่อมโยงกันอย่างตั้งใจ หรืออาจเป็นข้อความบางอย่างที่พยายามบอกเล่าเรื่องราวบางเรื่องที่สังคมปิดกั้นจนไม่สามารถพูดออกมาได้ตรงๆ
ดอกไม้หลากหลายชนิดที่นรภัทรใช้มักมีที่มาและความสำคัญอันลึกซึ้ง นั่นทำให้ดอกไม้ของเขากลายเป็นกุญแจสำคัญในการไขเพื่อหาคำตอบที่เขาได้แอบซ่อนเอาไว้ในผลงานศิลปะอย่างแนบเนียน ซึ่งในบางครั้งภาพถ่ายดอกไม้ที่แสนสวยงามและนุ่มนวลของนรภัทร อาจมีที่มาที่เกิดจากความพังพินาศของสภาพภายในใจของเขาก็เป็นได้
ผลงานของนรภัทรในช่วงแรกมันแสดงออกถึงความท้าทายธรรมชาติในการเก็บรักษาความสดของดอกไม้ แต่แล้วก็ถูกพัฒนาจนกลายเป็นความท้าทายของอำนาจและอิทธิพลที่เกิดขึ้นในสังคม ผ่านผลงานภาพถ่ายดอกไม้หลากหลายชนิดเหล่านี้ ดังนั้นอย่าเชื่อดอกไม้อันแสนสวยงามที่ปรากฎอยู่ตรงหน้า แต่ควรหาคำตอบบางอย่างที่เขาได้แอบซ่อนเอาไว้ บางทีเรื่องราวที่นรภัทรเผชิญหรือต้องการนำเสนอ อาจเป็นเรื่องราวเดียวกันกับที่หลายๆคนกำลังดิ้นรนอยู่อย่างหลีกหนีไม่ได้ บนพื้นฐานของสังคมที่เต็มไปด้วยความไม่เท่าเทียม
นรภัทร ได้มีโอกาสแสดงผลงานนิทรรศการทั้งที่ไทยและต่างประเทศ เช่นที่ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศมาเลเซีย ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศไต้หวัน ประเทศสิงคโปร์ เขาได้รับรางวัล Young Thai Artist Award 2559 ในสาขาภาพถ่าย นอกจากนี้ผลงานของศิลปินยังได้ลงตีพิมพ์ในสื่อและนิตยสารชั้นนำเช่น International Floral Art, Vogue Thailand และ Fine Art Magazine.
Suzanne Moxhay เกิด 2519 (อังกฤษ), ปัจจุบันทำงานและอาศัยอยู่ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ศิลปินชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงจากงาน photomontage งานของ Suzanne Moxhay เป็นผลมาจากการสร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคนิคที่
ซับซ้อน โดยได้แรงบันดาลใจมาจากเทคนิค Matte Painting ที่ใช้ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในสมัยก่อนที่ภาพเคลื่อนไหวถูกนำมารวมกับภาพเขียนฉากหลังเพื่อให้เกิดพื้นที่สมมุติ ที่รวมเอาหลายรูปแบบของการนำเสนอของสิ่งต่างๆ ศิลปินยังนิยมใช้รูปภาพที่เก็บมาจากที่ต่างๆ ภาพวาด และ ภาพถ่ายของเธอเองเพื่อประกอบเป็นชิ้นงานที่ท้าทายกับความเป็นจริงของพื้นที่ตรงหน้า
ศิลปินจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก Chelsea College of Art และ Post Graduate Diploma จาก The Royal Academy of Arts Suzanne มีโอกาสได้จัดแสดงผลงานมากมายทั้งในต่างประเทศและในประเทศอังกฤษ เช่นนิทรรศการ Interiors, Anderson Gallery, Massachusette (2560) ‘Jamais on n’a vu …’, Noorforart Contemporary/ Le Mois de la Photo/ Fotofever, Paris (2560), The Loft, Saatchi Gallery, London (2559), Brilliant Creatures, The Strand Gallery, London (2558), Finta Realta, TEN Gallery, Milan (2557), Noir/Blanc, Mumbai (2557), Constructed Landscaoes, Royal Academy of Arts, London (2554), Virtually Real, Stanley & Audrey Burton Gallery, Leeds (2554)
ศิลปินได้รับรางวัล Toro d’Acciaio Award, Winner, Turin และได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัล ‘BNL Paribas Award’, Milan งานของศิลปินเป็นส่วนหนึ่งของ collection ถาวรต่างๆเช่นที่ The Cooper Union New York, The Royal Academy of Arts, the FSC, the Lodevans Collection, the University of the Arts Collection และ Oxford University.
Tetsuya Kusu เกิด 2518 ปัจจุบันทำงานและอาศัยอยู่ที่คารากาวะ ประเทศญี่ปุ่น หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Tetsuya ได้เดินทางไปทั่วทั้งยุโรปและเอเชีย ก่อนที่จะมาจบที่เกาะเต่า ประเทศไทย ที่ได้กลายมาเป็นบ้านที่สองของเขา ระหว่างที่มาเป็นครูสอนดำน้ำที่นี่กว่า 6 ปี ศิลปินเริ่มหลงรักการถ่ายภาพ โดยเขาได้ฝึกปรือฝีมือ จากการถ่ายภาพใต้น้ำกว่า 15,000 ภาพ จากสถานที่ทั่วประเทศไทย
หลังจากที่เขาตัดสินใจย้ายกลับไปบ้านที่ญี่ปุ่น ศิลปินได้เริ่มทำงานเป็นช่างภาพ ฟรีแสนซ์ โดยเน้นภาพถ่ายใต้น้ำ สถาปัตยากรรม portrait และภาพถ่ายเชิงวัฒนธรรมให้กับนิตยสาร และสื่อโฆษณา หลังจากทำงานถ่ายภาพเชิงพานิชย์มาได้ระยะเวลาหนึ่ง เขาได้เริ่มทำงานโปรเจคส่วนตัวตั้งแต่ปี 2555 โดยจัดแสดงงานของเขาทั้งในและต่างประเทศ
ผลงานชุด American Monuments เป็นผลงานที่ศิลปินจัดฉากถ่ายภาพบุคคล และได้จัดทำเป็นหนังสือภาพสีขนาด A4 โดยศิลปินอยู่กับ Zen Foto Gallery แกลเลอรี่ในโตเกียว Kusu ได้แสดงผลงานนิทรรศการในหอศิลป์และ พิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทั้วทั้งญี่ปุ่น และในต่างประเทศ เช่น ที่ประเทศโปแลนด์ ประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย รวมทั้งยังได้รับการ
เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลทางด้านภาพถ่ายเป็นจำนวนมาก
เกี่ยวกับผู้จัด
PhotoBangkok เทศกาลโฟโต้บางกอก เป็นเทศกาลภาพถ่ายที่มุ่งเน้นในการสร้างโอกาส พื้นที่ และทางเลือกให้กับสังคมภาพถ่ายร่วมสมัย จนถึงอุตสาหกรรมการสร้างสรรค์ในประเทศไทยและรอบข้าง โครงการนี้เป็นการรวมตัวกันขององค์กรต่างๆ ตั้งแต่สถาบันการศึกษา แกลลอรี่ ศิลปิน ภัณฑารักษ์ และดีไซน์เนอร์จากทั้งในและนอกประเทศเพื่อสร้างเทศกาลที่มีความหลากหลายทางเนื้อหา อีกทั้งยังมีกิจกรรมการอบรมให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจจนไปถึงมืออาชีพในสายงานที่เกี่ยวข้อง
เป้าหมายของโฟโต้บางกอกคือการขับเคลื่อนและพัฒนาความรู้เดิมที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยใช้การแลกเปลี่ยนความรู้ และวัฒนธรรมผ่านทางศิลปะภาพถ่าย ในขณะเดียวกันเพื่อเป็นการสร้างรากฐานทางวัฒนธรรมที่มั่นคงให้กับสังคมร่วมสมัยและอนาคตของคนรุ่นใหม่
โดยปีนี้กับโปรเจค Strata, pop-up exhibition, โฟโต้บางกอกร่วมกับ 1PROJECTS และ River City Bangkok ได้จัดแสดงงาน 5 นิทรรศการ โดยศิลปินภาพถ่ายทั้งไทยและต่างชาติทั้งหมด 7 ศิลปิน เพื่อเน้นในเรื่องประเด็นความซับซ้อนทางด้านวัฒนธรรม การเมือง และสังคม
1PROJECTS เป็นองค์กรที่เน้นสร้างเครือข่ายทางศิลปะที่ยั่งยืน โดยเน้นนำเสนอศิลปินร่วมสมัยทั้งศิลปินไทยและศิลปินต่างประเทศจากภูมิภาคเอเชีย เพื่อนำเสนอเผยแพร่ผลงานของศิลปินเหล่านี้สู่ระดับนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็นการจัดนิทรรศการในประเทศต่างๆ หรือที่พื้นที่จัดแสดงของ 1PROJECTS เองที่กรุงเทพฯ นอกจากนี้ทาง 1PROJECTS ยังให้ความสำคัญและมุ่งส่งเสริม สนับสนุนศิลปินรุ่นใหม่ที่มีความสามารถและน่าจับตามอง
1PROJECTS ครอบคลุมการนำเสนอและจัดหางานศิลปะให้แก่เอกชน นักสะสม บุคคลทั่วไป องค์กรทางธุรกิจ และรวมถึงพื้นที่จัดแสดงสาธารณีนอกเหนือจากนั้นยังทำงานร่วมกับศิลปินเพื่อสร้างสรรค์งานขึ้นมาเฉพาะ (commission work) ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่และโครงการทางศิลปะ อีกทั้งยังมีบทบาทในการให้คำปรึกษาในด้านศิลปะ รวมถึงการจัดการบริหารโครงการทางศิลปะ และประสานงานในทุกด้านที่เกี่ยวข้องตั้งแต่วางแผน ติดต่อศิลปิน จนถึงการขนส่งและติดตั้งงาน
โครงการที่ผ่านมาของทาง 1PROJECTS มีทั้งในส่วนของหอศิลป์ การพาเยี่ยมชมสตูดิโอของศิลปิน รวมทั้งโครงการโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ และยังรวมถึงการคัดสรรค์งานศิลปะให้กับนักสะสมทั้งในและต่างประเทศ 1PROJECTS ได้รับเชิญเข้าร่วมอภิปรายในงาน Art Week Conversation ที่ประเทศสิงคโปร์และได้เข้ารวมในงาน art fair ต่างๆ จารุวรรณ จันทป ผู้ก่อตั้ง 1PROJECTS เคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการ และ เป็นหุ้นส่วนที่ Whitespace Gallery Bangkok ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2006 จนถึงปี 2016 จารุวรรณได้มีโอกาสร่วมงานกับศิลปินชั้นนำไม่ว่าจะเป็น ดุษฎี ฮันตระกูล (ประเทศไทย), ตะวัน วัตุยา (ประเทศไทย), Richard Streitmatter-Tran (ประเทศเวียดนาม), วสันต์ สิทธิเขตต์ (ประเทศไทย) และ อิ่มหทัย สุวัฒนศิลป์ (ประเทศไทย) และศิลปินรุ่นใหม่ที่กำลังเป็นที่จับตามองอย่างเช่น ปานพรรณ ยอดมณี (ประเทศไทย) และศิลปินท่านอื่นๆอีกมากมาย
เกี่ยวกับภัณฑารักษ์
นิ่ม นิยมศิลป์ เกิด 2523 ทำงานและอาศัยอยู่ที่กรุงเทพ, นิ่ม นิยมศิลป์ เป็นภัณฑารักษ์อิสระ จบการศึกษาระดับปริญญาโทประวัติศาสตร์ศิลป์จาก Birkbeck, University of London โดยเน้นในด้าน ศิลปะร่วมสมัย ภาพถ่าย และงานศิลปะในชุมชน
เธอเคยทำงานให้กับองค์กรต่างๆเช่น Artist Pension Trust และ Horniman Museum ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้เคยทำงานกับ the Emporium & EmQuartier ในตำแหน่ง Marketing Departmen Manager ดูแลจัดงาน Public Art Festivals และงานทางด้านศิลปะ วัฒนธรรมอื่นๆ
ในฐานะภัณฑารักษ์อิสระ นิ่ม นิยมศิลป์ ได้ curate งานให้กับหอศิลป์ต่างๆเช่น Objectifs – Centre for Photography and Film ประเทศสิงคโปร์ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน กรุงเทพ, 1PROJECTS และ Subhashok The Arts Centre กรุงเทพ และ Forty7 Gallery ลอนดอน นอกจากนี้เธอยังได้เขียนบทความให้กับ Fineart Magazine Why Magazine และ the Bangkok Trader.
Curatorial Concept
Strata: Pop-up Exhibition project by PhotoBangkok in collaboration with 1PROJECTS
Immersed within this artistic formation are layers upon layers, running between reality and imagination, personal and historical context, objectivity and subjectivity, spatial and temporal stages. Photography has transformed from being simply a copy of nature into an artistic form, representing a creator’s aesthetic, cultural message and, frequently, social agenda.
Strata is this year’s pop-up exhibition project by PhotoBangkok, to reflect on contemporary social structure. In the current complex socio-political climate, nothing is as it seems. In this project, 7 artists, 5 exhibitions represent a wide variety of photographic genres and techniques, each with multifaceted elements and discourse, a diffusion of information and negotiation.
Representing the European stratum, Luis del Amo, Madrid in Black and White, gives us a glimpse into Madrid’s glamorous past through his black and white 35mm and medium format films from his time as a fashion photographer. Decades later, in Expanse, Suzanne Moxhay, while inspired by the tradition of matte painting techniques, opts for digital tools to manipulate and construct a staged environment that negotiates the boundary between outside and inside, allowing an expansion of spatial mentality and physicality.
I love Thailand presents the work of two talented emerging Thai artists, Naraphat Sakarthornsap and Charinthorn Rachurutchata, who show Thai society through their fresh, yet critical mindsets. Rachurutchata, with her traditional upbringing, examines the phrase ‘I love you Thailand’, a common phrase Thai students are asked to repeat mindlessly at school. While Sakarthornsap emphasizes the importance of what (or whom) is discarded and rejected by society. Seen through the simplicity of beautiful floral arrangements in an ordinarily places, his work is a reflection of a society’s impact upon an individual.
“What a wonderful world?” shows works by Tetsuya Kusu and John Hulme, presenting socioeconomic strata of the marginal in two countries, the United States and Thailand. With a sense of humor, Kusu’s work not only captures lives in the States, but is also an artist’s self-documentation and re-examination. While Hulme offers an honest account of the restricted life of migrant workers, documenting their professional and family life, revealing dignity and endurance under considerable hardship.
Ekkarat Punyatara shows another side of Bangkok in Interlude, a metropolis presented through its emptiness, with only a few remaining traces of actions and activities. He depicts the city at a time of rest, an interval in ongoing lives, encompassing those whose existence takes place within this urban space.
These artists present works that reflect on the complexity and layers of life from diverse realms and circumstances as a means of self-representation and open conversation. Nothing is neutral; all are politics of thought and action. What we see in front of us and what we ascertain, can be challenging and ambiguous.
Exhibitions concept
I love Thailand by Charinthorn Rachurutchata & Naraphat Sakarthornsap
The ignorance of citizens is common in a world where facts, norm and propaganda can be hard to distinguish.
I love Thailand showcases the work of two up-and-coming artists, Naraphat Sakarthornsap and Charinthorn Rachurutchata. Together, they share their concerns about Thailand’s direction, future, and social conditions. The artists communicate their voice through the photographic medium in a way that is both inviting and challenging. Rachurutchata, looking back at her Thai-Chinese conservative upbringing, examines the phrase ‘I love you Thailand’, its meaning and intention. It is a phrase that we are told to repeat endlessly while we are in school. What does it really mean? And most importantly, do we really mean it? Sakarthornsap looks at the layers of society and questions its restrictions and narrow mindset. Who decides what is acceptable and what should be rejected? By re-examining familiar and ordinary places, the artist reflects on how society affects the life of an individual and offers the chance and encouragement to explore and search for true value within ourselves and seek what was lost.
“What a wonderful world?” by John Hulme & Tetsuya Kusu
How wonderful is the world we live in; full of hopes and dreams and splendour…
Coming from two vantage points, Tetsuya Kusu and John Hulme present a view into the socioeconomic strata of the marginal in two polar-opposite countries, the United States and Thailand. A group of people that are ignored or overlooked by society.
Tetsuya Kusu’s works are part of his American Monuments series (2014). They may, at first glance, look like an observation of others, but are essentially Kusu’s way to re-examine and re-trace his emotions back to a time when he was too was a drifter living in the States. With a strong sense of humor expressing his subjects’ sense of freedom and pride, his work is his way of challenging his own past and reclaiming his identity through the eyes and enactments of others.
Over the past 12 years, John Hulme has been documenting the life of migrant workers living along Thailand’s border. He gives an honest account of their lives covering most aspects of their work and aspirations. Each image follows them, and sometimes their families, working away from home in search of a better income from factories, the fishing industry, farming, construction sites and the sex industry, revealing their dignity and endurance under the adversity of life.
Madrid in Black and White by Luis Del Amo
With the La Movida Madrileña movement, a new Spanish identity and cultural reform emerged. In the 80s, Madrid, and the whole of Spain, had been transformed by a new wave of creative and cultural aspects.
In Madrid in Black and White, Luis del Amo, reveals a side of Madrid of the 80s and 90s, through his 35mm and medium format black and white films. Still behind Paris and Milan, this was a time when Madrid’s fashion industry started rising to an international level. It was the beginning of a new era with the forerunners of fashion photography and models in a period where there were no traditional art schools focusing on fashion and photography, and with limited shooting budgets. It was all the more reason to be creative and more resourceful.
Starting as an assistant, Luis del Amo learnt all the skills needed of the pre-digital photography. There was no Photoshop. All photographers needed to know printing process, studio lighting, working with models, costumes and makeup. Everything was analog. What happened in the shoot, appeared in the final product, there was hardly any room for adjustment. The images shown here are the result of hard work, daring, adaptation and creativity of the cultural forces involved.
Expanse by Suzanne Moxhay
Exploring the boundary between external and internal space, Suzanne Moxhay’s photomontages create a staged environment where spatial periphery becomes non-existent and borderless.
Moxhay’s work is inspired by the traditional matte painting techniques normally used in the old film industry. However her work is a product of complex methods including digital manipulation and mixed media, multiple layers of old and new combined. Working in her studio in an old compound in London, Moxhay started to investigate this long-standing structure and created an imaginative space that connects the internal and the surroundings, with inspiration from a short story by Thomas Pynchon, Entropy, where one of its key characters was trying to create an enclosed micro climate in his apartment.
An expansion of the outside world within not only transforms the physical space but also the psychological states of those who are living in it. A complex relationship between human, building structure, layers of containment and environment, create a unique persona, an individual stratum.
Interlude by Ekkarat Punyatara
In the flow of life, there is a necessity for an interlude from the mundanity of daily existence. An interval, a pause of action, a time to rest, to reflect and recharge in order for life to continue and be more bearable.
A city can likewise be viewed as a living organism, full of complex systems and the interlace of countless elements. It too needs a break, a time to rest, a period to breathe. In Interlude, Ekkarat Punyatara presents images of Bangkok during these moments, where only traces of humans are left.
Ekkarat is Thailand’s National Geographic photographer. He enjoys human interaction. The majority of his work involves people in social settings. The images selected for this exhibition, were those that slipped through the gaps, presenting a break, a time for introspection and solitude. This is a gentle time of emptiness, an interlude in a metropolis without any action. It is the time given to a city that has been through so much exploitation, a city that is so giving and open to all walks of life.
Artists
Charinthorn Rachurutchata b. 1982 currently lives and works in Bangkok, Thailand After university graduation, Charinthorn Ratchurutchata started her career as a fashion photographer where she developed an interest in capturing the evanescent quality of female beauty. With years of work in the fashion industry, her interest has shifted toward art, producing more conceptual works with a touch playfulness in which she expresses a very personal vision of her perceptions, intuitions and reflections. Along with photography, she is also working on short art films showing in Thailand and abroad.
Rachurutchata has exhibited her work nationally and internationally in leading galleries and museums including Fukuoka Asian Art Museum (Japan), VU Photo, Quebec (Canada), Bangkok Art and Cultural Center (Thailand), The Pier2 Art Center, Kaohsiumg (Taiwan), Bogong Centre for Sound Culture (Australia), Alliance Franciase Bangkok, Number1 Gallery (Thailand), RMA Institute (Thailand). She attends many artist residencies and programmes abroad in Asia, Australia and Canada.
Ekkarat Punyatara b. 1985, a National Geographic Thailand’s photo editor and staff photographer based in Bangkok. His photography is inspired by fascination in Thai culture that he was rooted since childhood by his conservative family. He first gained recognition for his photos in 2011 through a controversial project, It’s Personal that questioning the traditional conservative way of seeing Buddhism in Thailand. The project was a year long documenting a group of Thai monks living in New York. His works has been published/showed worldwide, Smithsonian(USA), burn magazine(USA), Emaho magazine(India), IPA(Singapore), South China Post(China), Angkor Photo Festival(Cambodia), etc. His Instagram is selected as one of 20 Asian photographers that have the most interesting IG to follow, by IPA(Singapore). Ekkarat won international photo contests, Gold prize of Moscow International Fotography Awards, 2nd prize of Streetfoto San Francisco, 1st prize of 180 years Thai-American relationship photo contest, etc. Beside worldwide assignments as an outsider, Ekkarat will be in his home country photographing through the sight of the insider raising awareness of the social issues.
John Hulme b.1948 (Scotland), Currently lives and works in Chiang Mai, Thailand John Hulme is a documentary photographer dividing his time between Southeast Asia and Britain. His work has focused on documenting social issues in Europe, Thailand, Burma, India and Australia. As an accredited photographer for the BBC and Channel Four he has been involved in the production of several documentaries.
John's work has been published in books, Magazines and newspapers, including AOL, Pacific Press (Japan), MacMillan Education, Heinemann, BBC, McGraw Hill (US), Longman Asia, Oxford University Press, Cambridge University Press, AA Publishing, MacMillan Oxford, Independent On Sunday, Aladdin Books, APA Publications, Financial Times and The Sydney Morning Herald. Recent work includes the documentation of Burmese Migrant Workers, the Karen people of Burma and Gold Mining in Kachin state Upper Burma.
Luis del Amo b. 1958 (Menorca, Spain), currently lives and works in Bangkok, Luis del Amo is a Spanish fashion photographer who has also worked in films, documentaries, music videos, and travel photography. He was based in Madrid up until 2007 working as fashion photographer and editor for leading magazines, such as Vogue Spain, Elle, Cosmopolitan, El Pais Semanal and Ragazza. He also did collaboration in Paris and Milan with Votre Beaute and Conde Nast and captured the glamour of celebrities and actors at film festivals.
With a passion in travel, for the past years, Luis has been travel around the world working as a travel photographer. He is currently residing in Bangkok and becomes and becomes a director of photography for a fashion site.
Naraphat Sakarthornsap b. 1991 Currently lives and works in Bangkok. In many of his works, Naraphat presents stories of social inequality through photographs, in which flowers play the leading role. Other important elements in his exhibits are the mysterious letters and words he intentionally titled his photos, each of which is delicately and meaningfully interconnected. He did so as those messages cannot be explicitly spoken or displayed due to the constraints of the society.
Many kinds of flowers that Naraphat uses usually come with profound meanings. Those flowers have become the keys to finding the answers that are neatly hidden in the works of art. And sometimes the photographs of these delicate flowers originate from the deepest part of his devastated heart.
Naraphat’s early works have presented the challenge against nature in trying to prolong the freshness of the flowers before his ideas are refined and eventually become the challenge against power and influence in the society.
Naraphat has exhibited nationally and internationally at prestigue art institutes in Thailand, Philippines, Malaysia, South Korea, Taiwan and Singapore. He received the distinguished Young Thai Artist Award 2016 in Photography Category. His works are published in many publications including International Floral Art, Vogue Thailand and the Fine Art Magazine.
Suzanne Moxhay b. 1976 (England), currently lives and Works in London, UK
A talented artist who gained recognition through her complex and intriguing photomontage pieces. Moxhay’s works are the result of a complex method. She was inspired by Matte Painting, an original film making technique, where live action and painted backdrops were combined in camera to create a composite space encompassing different forms of representation. She uses a combination of found imagery, painting and her own photographs to construct works which challenge the reality of a space. She received a BA (Hons) in Fine Art from Chelsea College of Art and later completed a Post Graduate Diploma at the prestigious Royal Academy of Arts.
Moxhay has exhibited her work extensively nationally and internationally including Interiors, Anderson Gallery, Massachusettes (2017), ‘Jamais on n’a vu …’, Noorforart Contemporary/ Le Mois de la Photo/ Fotofever, Paris (2017), The Loft at Lower Parel, Munbai, Saatchi Gallery, London (2016), Brilliant Creatures, The Strand Gallery, London (2015), Finta Realta, TEN Gallery, Milan (2014), Noir/Blanc, Mumbai (2014), Constructed Landscapes, Royal Academy of Arts, London (2011), Virtually Real, Stanley & Audrey Burton Gallery, Leeds (2011).
In 2014, Moxhay received Toro d’Acciaio Award, Winner, Turin and she was nominated for the prestiguious ‘BNL Paribas Award’, Milan. Her works are part of public and private collections worldwide including The
Cooper Union New York, The Royal Academy of Arts, the FSC London, the Lodevans Collection, London, the University of the Arts Collection and Oxford University.
Tetsuya Kusu b. 1975, Based in Kanagawa, Japan. (Live and work in Kanagawa.) After graduating from university, Tetsuya Kusu embarked on a journey that would take him across Eurasia. His final stop was Koh Tao, a small island in Thailand which became his second home. While working there as a diving instructor for 6 years, he fell in love with photography. Honing his craft, He shot more than 15,000 underwater images in and around Thailand.
Upon returning home to Japan, he started working as a freelance photographer. He concentrated on underwater, architectural, portraiture, and cultural photos for magazines and other advertising mediums. After completing a body of commercial work, He started creating images on a personal basis from 2012 – 2016, continuing to show his art at home and abroad.
His recent effort, 'American Monuments' is a series of staged personal portraits printed as a vivid, full color A4 book. Tetsuya Kusu is represented by Zen Foto Gallery in Tokyo. He has exhibited in numerous museums and galleries throughout Japan and abroad including Poland and Malaysia and was a finalist for many photography awards.
About PhotoBangkok
PhotoBangkok is an international photography festival, established in 2015. It consists of diverse photography programs including historical, experimental and contemporary exhibitions, interactive public installations and large, outdoor projections. It brings together artists, institutions, galleries and curators to showcase photography through collaborations. Educational programs are provided by experienced professionals through portfolio review, photo editing workshops and photo related talks throughout the festival period.
PhotoBangkok aims to drive and develop knowledge to its full potential by cultural and information exchange and collaboration through photography, in order to create a strong foundation for contemporary society and future generations.
This year, with pop-up exhibition project ‘Strata’, PhotoBangkok, in collaboration with 1PROJECTS and River City Bangkok, has organized 5 exhibitions by 7 local and international photographers, to stress and draw focus to cultural and socio-political issues.
1PROJECTS organises Asian contemporary arts projects. We seek to promote and support Asian emerging contemporary artists locally and internationally at art fairs, overseas galleries or 1PROJECTS’ own gallery space in Bangkok, Thailand.
In the past 1PROJECTS has shown video artworks by renowned Australian artist Tracey Moffatt in collaboration with The Ferry Gallery in Bangkok. 1PROJECTS has also in the past been invited to Art Week Conversations by THEO Art Professionals in Singapore as panel speaker together with gallerists David Teh, Richard Koh and curator Ark Fongsmut on the topic of art market in Thailand "The Price of Selling Local".
Founder Charuwan Chanthop has been with Whitespace Gallery Bangkok since its founding in 2006 until 2016 most recently as gallery manager and shareholder. In the past she worked together with established artists such as Vasan Sitthiket, Michael Shaowanasai, Yuree Kenasku, Imhathai Suwatthanasilp and Chusak Srikwan as well as many promising emerging Thai artists.
Curator
Nim Niyomsin b. 1980, lives and works in Bangkok, Thailand, Nim Niyomsin is an independent curator and writer. She received a Master of History of Art from Birkbeck, University of London. Niyomsin specialises in contemporary art, photography, Southeast Asian art and public art events.
Prior to working independently, she worked with the Artist Pension Trust and Horniman Museum in London and was recently the Marketing Department Manager for international art and culture at the Emporium & EmQuartier (Bangkok), organizing public art festivals and cultural events.
She is currently an independent curator with exhibitions at Ratchadamnoen Contemporary Art Center (Bangkok), 1PROJECTS (Bangkok), Subhashok The Arts Centre (Bangkok), SO Gallery (Bangkok) and Forty7 Gallery (London). She has written for magazines such as Fineart Magazine, Why Magazine and the Bangkok Trader.